QE คืออะไร

QE (Quantitative Easing) หรือนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ 

เป็นการนำเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเข้าไป หรือรัฐบาลจะเข้าไปซื้อสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน และจะให้สถาบันการเงินปล่อยกู้ให้ภาคเอกชนต่อไป โดยดำเนินการจากธนาคารกลางเพื่อกระตุ้นเศรษฐิกิจให้ดีขึ้นจากการที่ประชาชนมีกำลังจับจ่ายใช้ส้อยกันมากขึ้นนั้นเอง


สิ่งที่ตามมาจากการทำQE
  • ดอกเบี้ยธนบัตรในประเทศที่ทำQE จะลดลง = ประชาชนกล้าที่ลงทุนที่คุ้มค่าดิกเบี้ย
  • ค่าเงินอ่อนค่าลง = ช่วยในเรื่องการส่งออกได้...แต่อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นได้ (ค่าเงินUSอ่อนค่าลง ทองตะปรับตัวเพิ่มขึ้น)

จากที่ค่าเงินอ่อนค่าลง ทำให้คนในประเทศต้องหาแหล่งเงินทุนที่ประเทศอื่นที่มีผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น ตลาดหุ้น,อสังหาริมทรัพย์ ทำให้มีการเติมโตสูงในช่วงที่ทำQE แต่เมื่อหมดนโยบายการทำQE เมื่อไหร่ประเทศนั้นๆที่เคยปรับตัวสูงขึ้นอาจจะปรับตัวลดลง เช่น นโยบาย QE ของสหรัฐฯ ในยุคของ Ben Bernanke ที่คนสหรัฐเข้ามาลงทุนในฝังเอเชียกันมากช่วงQE แต่หมดนโยบาลก็เร่งถอนการลงทึนกลับไป ทำให้ตลาดหุ้นเอเซียดรอปลง

ประวัติการทำ QE ของธนาคารกลางสหรัฐฯ
  • QE1 (พ.ศ.2552-2555) :เกิดการล่มสลายของระบบการเงินในยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ครอบครองพันธบัตรคงคลังระหว่าง 700-800 พันล้านเหรียญ ก่อนเกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ช่วงปลายปี 2551 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้เริ่มเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง มูลค่ารวม 600 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ปี 2552 ระดับหนี้ตราสารทางการเงินและพันธบัตรคงคลังเพิ่มขึ้น 1.75 ล้านล้านเหรียญ เดือนมิถุนายน 2553 เพิ่มเป็น 2.1 ล้านล้านเหรียญ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารกลางแห่งเอเชียได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เข้าไปดูแลและแทรกแซงค่าเงิน
  • QE2 (พฤศจิกา พ.ศ.2553) :ธนาคารกลางสหรัฐฯ เข้าซื้อพันธบัตรคงคลังมูลค่า 600 พันล้านเหรียญ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • QE3 (กันยายน พ.ศ.2555) :วางแผนเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง(Mortgage-backed securities : MBS) มูลค่า 40 พันล้านเหรียญต่อเดือน คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee (FOMC) ได้ประกาศที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยได้ที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไปจนถึงปี 2558
  • QE4 (ธันวาคม พ.ศ.2555) :เพิ่มวงเงินการเข้าซื้อพันธบัตรกระทรวงการคลังเพิ่มเติมอีก 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน จากเดิมใน QE3 เป็นการเข้าซื้อพันธบัตรหรือตราสารหนี้ในตลาดจำนองอสังหาริมทรัพย์ ในวงเงิน 40,000 ล้านเหรียญฯต่อเดือน ส่งผลให้ “เฟด” ปล่อยเงินเข้าระบบต่อเดือนเพิ่มจากเดิมรวมเป็น 85,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เหตุผลคือต้องการขยายผลการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องนอกจากนโยบายการเงินและเสถียรภาพด้านราคา “เฟด” ถูกกำหนดไว้ให้ดูแลการจ้างงานของประเทศด้วย เนื่องจากประเทศมีการจ้างงานต่ำมาก “เฟด” จึงออกมาตรการเพิ่มการจ้างงาน เพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศ


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม